Self Surveillance for Quality of food
ทุกวัย การตกค้างของยาในน้ำนมจะมีผลกระทบต่อผู้บริโภคและอุตสาหกรรมการผลิตนมเปรี้ยวและเนยแข็ง ดังนั้นการตรวจสอบยาตกค้างในนมและผลิตภัณฑ์นม โดยเฉพาะการใช้ชุดทดสอบที่ง่าย และให้ผลรวดเร็ว จึงเป็นสิ่งจำเป็นต้องดำเนินการ เพื่อควบคุมคุณภาพนมให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
การบริโภคนมที่มียาตกค้างเป็นประจำ ก่อให้เกิดการดื้อยาและการแพ้ยาในผู้บริโภค
นมดิบ นมพร้อมดื่ม นมผง และผลิตภัณฑ์นม
50 ตัวอย่าง
หลอดทดสอบสำเร็จรูป 50 หลอด
หลอดหยดพลาสติก 10 หลอด หรืออุปกรณ์อื่นที่หยดได้ครั้งละ 0.1 มิลลิลิตร
อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการตรวจ : อ่างน้ำร้อน / ตู้บ่มเพาะเชื้อ / heat block ควบคุมอุณหภูมิ : 64+2ºC และ 82+2ºC
นมพาสเจอร์ไรส์หรือผลิตภัณฑ์นม ที่เป็นของเหลว นำมาวิเคราะห์ได้ทันทีโดยไม่ต้องให้ความร้อน ถ้าไม่สามารถวิเคราะห์ได้ ให้เก็บรักษาไว้เช่นเดียวกับนมดิบ
นมดิบ สุ่มตัวอย่างน้ำนมดิบแต่ละตัวอย่างที่ผสมเข้ากัน จากรถบรรทุก ถังส่งนม หรือน้ำนมรวมก่อนการผลิต นำมาทดสอบทันที ถ้าไม่สามารถทำได้ ให้เก็บรักษาในอุณหภูมิแช่แข็งไม่เกิน 7 วัน และก่อนนำมาวิเคราะห์ให้ความร้อนในอ่างน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 82+2 ºC เป็นเวลา 2 นาที เพื่อทำลายเชื้อซึ่งไม่ทนความร้อนที่ปนเปื้อนในตัวอย่าง และทำลายสารยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย ซึ่งเกิดตามธรรมชาติและไม่ทนความร้อน
นมผงและผลิตภัณฑ์นม ให้ละลายด้วยน้ำกลั่นที่ปราศจากเชื้อในอัตราส่วน 1:3 (น้ำหนักต่อ
ปริมาตร) แล้วนำมาทดสอบได้เช่นเดียวกับนมดิบ
แบ่งเป็น 3 ระดับ ตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้
ก. การตรวจพบ – ไม่พบยาตกค้าง
- หยดตัวอย่างนม 3 หยด (0.1 มิลลิลิตร) ลงในหลอดทดสอบ
- เตรียมหลอดทดสอบควบคุมที่ให้ผลลบ (Negative control) ซึ่งต้องทำทุกครั้งในการตรวจสอบ โดยหยดนมยู เอช ที รสจืด 3 หยด ลงในหลอดทดสอบอีกหลอดหนึ่ง
- บ่มเพาะเชื้อหลอดทดสอบ (ก.1 และ ก.2) ในอ่างน้ำร้อนควบคุมอุณหภูมิ 64+2 ºC โดยให้อาหารเลี้ยงเชื้อในหลอดอยู่ใต้ระดับน้ำและจับเวลาเมื่ออุณหภูมิได้ 64+2 ºC จนกระทั่งหลอดทดสอบควบคุมเปลี่ยนสีจากม่วงเป็นเหลืองทั้งหลอด (2 ชั่วโมง 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง 45 นาที หรือตามที่ระบุบนภาชนะบรรจุ) อ่านผลการเปลี่ยนสีของตัวอย่าง
ข. การตรวจยืนยันผลว่าเป็นยาตกค้างในกลุ่มเพนนิซิลิน
ตัวอย่างนมที่ตรวจพบยาตกค้าง 2-3 มิลลิลิตร เติมเอนไซม์เพนนิซิลินเนส 2 หยด (~ 0.05 มิลลิลิตร) ผสมให้เข้ากัน หยดส่วนผสม 3 หยด ลงในหลอดทดสอบอีกหลอดหนึ่ง แล้วทำเช่นเดียวกับข้อ ก.2 และ ก.3
ค. การตรวจหาปริมาณยาตกค้างในกลุ่มเพนนิซิลิน
ตัวอย่างที่ตรวจพบยาตกค้างกลุ่มเพนนิซิลิน (เบต้าแลกแตม) ตามข้อ ข. จะปรากฎแถบสีม่วงในหลอดทดสอบ (ตั้งแต่ขอบบนหลอดถึงก้นหลอด) โดยแถบสีม่วงจะขึ้นกับปริมาณยาตกค้าง ให้วัดความสูงของแถบสีม่วงในหลอดทดสอบ เปรียบเทียบกับความสูงของแถบสีม่วงมาตรฐาน ซึ่งได้พัฒนาไว้โดยใช้หลักสถิติ และสามารถระบุปริมาณยาตกค้างเป็นช่วง ๆ ได้ โดยไม่ต้องเตรียมยามาตรฐาน เช่น 1-2, 2-4, 4-8, 8-16, ………128-256 ไมโครกรัม/ลิตร (ppb) เป็นต้น